เคล็ดลับการเลี้ยงลูก

เคล็ดลับการเลี้ยงลูก

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกคนต้องการจะเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่ดีที่สุดให้ลูก โดยเริ่มจากการเลือกอุปกรณ์การเลี้ยงเด็กที่ต้องใช้ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกของใช้ให้ลูกน้อยคือความปลอดภัย แม้ปัจจุบันจะมีสินค้ามากมายให้เลือก แต่สินค้าบางชิ้นก็ไม่ได้ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย ดังนั้นการหาข้อมูลก่อนจะตัดสินใจซื้อมาใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เราอยากให้คุณปรึกษาคุณหมอหรือพยาบาลก่อนจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้

โรคที่เกิดกับเด็กทารกโดยทั่วไป

ช่วงหลังจากที่เด็กทารกเกิด 3-4 สัปดาห์เป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่กังวลที่สุด เมื่อลูกไอ จามหรือร้อง นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกมีอาการไม่สบายตัวบางอย่างซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งในอาการด้านล่างนี้ แต่อาการเหล่านี้สามารถทำให้หายได้

– สีผิวผิดปกติจากสาเหตุต่าง ๆ
– ผื่นแดง
– เล็บคุด
– ปฏิกิริยาจากการกินนม (อาการแพ้แลคโตส)
– ภูมิแพ้
– และอื่น ๆ
หากลูกมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรปรึกษากุมารแพทย์

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่ – พ่อแม่มือใหม่มักไม่แน่ใจว่าอาการที่ลูกเป็นอยู่นั้นควรไปพบแพทย์หรือไม่ แต่หากลูกมีอาการเหล่านี้ พ่อแม่ควรพาไปพบแพทย์:
o หายใจติดขัด
o บิดหรือเกร็งตัว
o ร้องไห้ต่อเนื่อง
o มีรอยช้ำหรือปูด
o อาเจียน ท้องเสีย หรือไข้สูง

การฉีดวัคซีน – การฉีดวัคซีน เป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีที่สุดในการป้องกันลูกจากโรคต่าง ๆ หลายโรค วงการแพทย์ได้ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนแม้อาจจะทำให้ลูกมีอาการข้างเคียงบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้ลูกมีความสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ แต่พ่อแม่ควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับทราบรายการวัคซีนชนิดต่าง ๆ ที่ต้องฉีดตามระยะเวลาและผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน โดยแพทย์จะให้สมุดบันทึกการฉีดวัคซีนที่ลงรายชื่อวัคซีนและช่วงเวลาที่ต้องฉีดเพื่อที่พ่อแม่สามารถจดบันทึกรายการที่ได้รับวัคซีนแล้ว และวันนัดฉีดวัคซีนครั้งต่อไป รายการวัคซีนที่แต่ละประเทศแนะนำให้ฉีดจะแตกต่างกันออกไป กรุณาปรึกษาแพทย์สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม

การให้อาหาร

เด็กทารกต้องได้รับอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอจึงจะเจริญเติบโต แข็งแรงและ มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน เด็กทารกต้องการอาหารชนิดเดียวคือน้ำนม ช่วงนี้ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหารอย่างอื่น หลังจากช่วงนี้ พ่อแม่อาจจะเริ่มให้อาหารเสริม เพื่อลดปริมาณการให้น้ำนมหรือเพื่อยืดช่วงระยะเวลาการให้น้ำนมแต่ละครั้ง โดยเริ่มให้ทีละน้อยเพื่อให้ลูกได้ปรับตัว พ่อแม่ควรเริ่มให้ลูกทานอาหารเสริมเมื่อเขาเริ่มให้ความสนใจในอาหารที่ผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่าทาน ซึ่งมีคำแนะนำอาหารดังนี้

 

อายุ (เดือน) ชนิดอาหารที่แนะนำ อาหารที่เหมาะสม อุณหภูมิของอาหารเวลาทาน
1-6 น้ำนมแม่
นมผง ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่ำกว่า 37ºC

6+ น้ำนมแม่
นมผง ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่ำกว่า 37ºC
อาหารเหลวบางชนิด ซีเรียล, กล้วย, แอปเปิ้ล, มันฝรั่ง, เยลลี่, ฟักทอง, ชีส อุณหภูมิห้อง

9+ น้ำนมแม่
นมผง ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่ำกว่า 37ºC
อาหารเหลวที่หยาบขึ้น ขนมป้ง,ข้าวโอ๊ตต้ม, เนื้อสัตว์, ถั่ว, ผลไม้, ผัก, ไข่, ผลเบอร์รี่ อุ่น

12+ อาหารหยาบเป็นส่วนใหญ่ ซีเรียล, ถั่ว, ข้าว, ขนมปัง, บิสกิต, ผลไม้, ผัก, ถั่ว เย็นหรืออุ่น
เสริมน้ำนมแม่
หรือเพิ่มนมผง ตามคำแนะนำของแพทย์ ต่ำกว่า 37ºC

อุปกรณ์ในการให้อาหารที่ต้องใช้
– อายุ 0-36 เดือน : ขวดนมและจุกนม
– อายุ 3 เดือนขึ้นไป : อุปกรณ์บดและผสมอาหาร
– อายุ 3 เดือนขึ้นไป : ถ้วยหัดดื่มแบบฝาปิดและจุกสำหรับดื่ม
– อายุ 6 เดือนขึ้นไป : ถ้วยดื่มแบบฝาปิดและหลอด
– อายุ 3 เดือนขึ้นไป : กล่องอาหารว่าง
– อายุ 9 เดือนขึ้นไป : จาน / ชาม / ช้อนส้อม

การนอนหลับ

เด็กทารกแต่ละคนมีนิสัยและความต้องการนอนต่างกัน หากเขาเริ่มแสดงออกว่าเหนื่อยนั่นก็แสดงว่าได้เวลานอนแล้ว พ่อแม่ควรให้ลูกได้ กิน เล่น และนอนเป็นเวลา เพราะจะได้ติดเป็นนิสัยที่ดีเมื่อเขาโตขึ้น

อายุ
(เดือน)
เวลานอน
(ชั่วโมง
ต่อวัน)
จำนวนครั้งที่นอน ช่วงเวลาตื่นแต่ละครั้ง (ชั่วโมง) การเล่นที่แนะนำในเวลาตื่น
1-6 15-16 3-4 1-2 เล่นจ๊ะเอ๋, เปิดเพลงให้ฟัง, ทำเสียงต่าง ๆ ให้ฟัง

6-12 10-14 2-3 3-4 ของเล่นกรุ๋งกริ๋ง, ระฆัง, ยางกัด, เล่นพลิกตัว, อ่านหนังสือให้ฟัง

12+ 10-12 1-2 5+ เล่นของเล่น, อ่านนิทาน, เล่นหัดเดิน, พาออกกลางแจ้ง,  เล่นบ่อทราย

ขั้นตอนการพาลูกนอน
– สังเกตว่าลูกเหนื่อยหรือไม่ (เช่น หาว , ขยี้ตา,หรืองอแง)
– เปลี่ยนผ้าอ้อม
– ทำให้ห้องสลัวหรือมืด
– เตรียมชุดที่เหมาะเอาไว้ใส่นอน
– ทำสภาพแวดล้อมให้เงียบ
– ช่วงเริ่มหลับอย่าให้มีอะไรมารบกวน
– เปิดเพลงเบา ๆ

การลดความเสี่ยงของการเกิด Sudden Infant Death Syndrome (SIDS)
– ให้นมลูกบ่อย ๆ
– พยายามให้ลูกนอนหงาย
– ป้องกันไม่ให้ผ้าห่มคลุมลูกจนมิดศีรษะ
– อย่าให้ลูกอยู่ในสถานที่มีควัน
– เอาหมอน หมอนอิง ผ้าห่ม ของเล่นออกจากเตียงลูก
– ให้ลูกดูดจุกดูดเล่น ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าลดโอกาสการเกิด Sudden Infant Death Syndrome (SIDS)

การงอกของฟันและการบรรเทาอาการเจ็บ

เมื่อฟันเริ่มงอก เด็กทารกแต่ละคนจะรู้สึกเจ็บไม่เท่ากันจากการที่ฟันแทงเหงือกขึ้นมา ฟันซี่แรกที่จะงอกคือฟันหน้าด้านล่าง และตามมาด้วยฟันหน้าด้านบน ปกติแล้วเมื่อเด็กอายุได้ 12  เดือนจะมีฟันงอกแล้วประมาณ 4-6 ซี่

สัญญาณที่บ่งบอกว่าฟันกำลังจะงอกคือ
– ผิวบริเวณแก้มหรือขากรรไกรมีสีแดง
– เหงือกมีการบวมและแดง
– มีน้ำลายในปากมากขึ้น
– มักจะกัดของเล่น ผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์

คำเตือน: ก่อนให้เด็กทารกใช้จุกดูดเล่นหรือยางสำหรับกัด ต้องตรวจดูก่อนว่าอยู่ในสภาพปกติ โดยเฉพาะช่วงที่ลูกเริ่มฟันงอก อย่าให้สายริบบ้อนหรือเชือกคล้องจุกดูดเล่นผูกรอบคอเด็ก เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาจรัดคอเด็กทำให้หายใจไม่ออกได้

หากพ่อแม่กังวลเกี่ยวกับอาการที่เกิดจากฟันงอกของลูก ควรปรึกษาแพทย์​

ความปลอดภัย

พ่อแม่ควรต้องทำให้บ้านเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูก แต่อุบัติเหตุก็อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเด็กที่อายุเกิน 12 เดือนขึ้นไป เพราะวัยนี้ เด็กจะเริ่มสังเกตสภาพแวดล้อมและความเป็นไปรอบตัวด้วยตัวอง พ่อแม่ควรเริ่มปรับสภาพภายในบ้านและรอบบ้านเพื่อลดความเสี่ยงตั้งแต่เมื่อลูกเริ่มคลานหรือหัดเดิน

ถึงแม้ว่าอันตรายอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นจุดที่พ่อแม่ควรเตรียมการป้องกันไว้:

การได้รับสารที่เป็นพิษเป็นหนึ่งในสาเหตุของการต้องพาเด็กไปรักษา สาเหตุเนื่องจากเก็บรักษาสารที่เป็นพิษไม่เหมาะสม แนวทางแก้ไขคือ

  • เก็บยาให้พ้นจากที่ที่เด็กหยิบได้
  • ไม่วางที่ป้อนยาเด็กเอาไว้ใกล้เด็ก หากไม่มีผู้ใหญ่ดูแล
  • ในการป้อนยาเด็ก ตรวจดูปริมาณที่กินไม่เกินจากที่แพทย์สั่ง
  • ไม่ให้เด็กกินยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

การสำลัก เกิดจากการที่สิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลมแทนที่จะเป็นหลอดอาหาร ปกติแล้วอาหารจะถูกขับออกจากหลอดลมโดยการไอแรง ๆ แต่บางครั้งเด็กอาจไม่สามารถไอจนสิ่งแปลกปลอมนั้นถูกขับออกมาเอง กรณีนี้ต้องโทรเรียกรถพยาบาลและอาจทำสิ่งต่อไปนี้ในขณะรอรถพยาบาลมารับ

  • พยายามให้เด็กไอ
  • ตบที่ระหว่างบ่าของเด็ก ช่วงที่เด็กไม่ได้ไอ
  • คอยตรวจดูว่าวัตถุหลุดออกจากหลอดลมและเด็กสามารถกลับไปหายใจได้ตามปกติ

การจมน้ำเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของเด็กช่วงอายุ 12-36  เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการจมน้ำมากที่สุดเนื่องจากเด็กเริ่มยืนและเดินเองได้แต่เด็กยังไม่รู้ว่าอาจพาตัวเองไปที่ที่อันตราย  เด็กอาจจะจมน้ำได้แม้ในแอ่งน้ำตื้น ๆ ประมาณ 5 ซม. ดังนั้นแอ่งน้ำทุก ๆ ที่ก็อาจจะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องคอยระวังเวลาเด็กเล่นอยู่ใกล้น้ำ สถานที่ที่พ่อแม่ควรระวังคือ

  • สระว่ายน้ำ
  • สระน้ำตื้น ๆ สำหรับเด็ก
  • อ่างอาบน้ำ
  • ชายหาด ริมแม่น้ำ เขื่อน บึง ลำธาร
  • ห้องน้ำ ถังน้ำ

คำเตือน อย่าปล่อยลูกอาบน้ำตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล

การเลือกซื้อของใช้ให้ลูก

ร้านขายของใช้เด็กมีสินค้าให้เลือกมากมาย สำหรับพ่อแม่มือใหม่อาจจะเลือกไม่ถูก ดังนั้นจึงควรหาข้อมูลไว้ก่อนไปที่ร้านเพื่อจะได้สินค้าที่ถูกใจและใช้งานได้นาน เราขอเสนอรายการของใช้เด็กที่จำเป็นต้องซื้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของเด็กดังนี้

เสื้อผ้า

  • หมวกใส่หน้าร้อนและหน้าหนาว
  • ถุงมือ
  • ถุงเท้า
  • บอดี้สูท
  • ชุดนอน
  • รองเท้าไหมพรม
  • เสื้อแจ็คเก็ต

เครื่องนอน

  • ผ้ารองกันน้ำ
  • ผ้าปูที่นอน
  • ผ้าห่อตัว
  • ผ้าห่ม

ของใช้ต่าง ๆ

  • รถเข็นเด็ก
  • เบาะรถนิรภัยของเด็ก
  • เปล
  • อ่างอาบน้ำ
  • กระโถน
  • เก้าอี้เด็ก

อุปกรณ์เลี้ยงดูเด็กและให้อาหาร

  • ขวดนม
  • จุกนม
  • จุกดูดเล่น
  • จาน ชาม ช้อนส้อม
  • กล่องใส่อาหาร
  • ที่ปั๊มนม
  • ถ้วยหัดดื่ม

ของใช้อื่น ๆ

  • ผ้าอ้อม
  • ทิชชู่เปียก
  • กระดาษทิชชู่
  • คอตตอนบัด

คำปฏิเสธความรับผิดชอบ

ข้อมูลและเนื้อหาในเว็บไซต์นี้ รวบรวมไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงทั่วไปและเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำแนะนำจากแพทย์หรือบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพได้ เจ้าของเว็บไซต์ หรือผู้เกี่ยวข้องจะไม่รับผิดชอบต่อการวินิจฉัยใดๆ ซึ่งผู้อ่านใช้เนื้อหาจากเว็บไซต์นี้เป็นพื้นฐาน ข้อมูลที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์เป็นข้อมูลที่ถูกต้องบนพื้นฐานของการใช้วิจารณญาณของผู้เขียน อย่างไรก็ตาม คำแนะนำด้านสุขภาพอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และข้อมูลในเว็บไซต์อาจล้าสมัยได้ ข้อความต่าง ๆ ในเว็บไซต์ไม่ได้ถูกประเมินโดยองค์การอาหารและยา และหน่วยงานด้านสุขภาพอื่น ๆ ข้อความและผลิตภัณฑ์ใด ๆ ในเว็บไซต์หรือที่กล่าวถึงไม่มีความตั้งใจที่จะใช้วินิจฉัยหรือรักษาโรคใด ๆ ปรึกษาแพทย์เสมอก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ในเว็บไซต์นี้ ไม่ควรกระทำการใด ๆ โดยมีพื้นฐานจากข้อมูลที่ได้จากเฉพาะเว็บไซต์นี้ ปรึกษาบุคลากรด้านสุขภาพหากคุณวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูก